ขั้นตอนในการดำเนินการ-ก่อนและหลังเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ทำประกันภัยไว้

เมื่อเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ทำประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัยควรพิจารณาดำเนินการ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้นี้เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายให้อยู่ในวงจำกัด ผู้เอาประกันภัยสามารถนำขั้นตอนที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภทได้

หากท่านมีข้อสงสัยประการใด ท่านสามารถติดต่อทีมสินไหมของ Lockton ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในเอกสารนี้ตลอดเวลา

5 ขั้นตอน สำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

5 ขั้นตอน สำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

1. สิ่งที่ต้องดำเนินการ ก่อนเกิดเหตุ Pre-loss actions

  • กำหนดตัวบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อจัดตั้งทีมงานรวมถึงกำหนดแผนงานในการทำแผนป้องกันภัยหรืออุบัติเหตุ การจัดซ่อมและจัดซื้อเพื่อซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายหากมีความเสียหายเกิดขึ้น ให้ชัดเจน
  • จัดทำรายชื่อและเบอร์ติดต่อกรณีฉุกเฉินของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้มีอำนาจสั่งการเมื่อมีอุบัติเหตุ ผู้ผลิตเครื่องจักรและงานระบบ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง สถานีตำรวจ โรงพยาบาล มูลนิธิกู้ภัย ฯลฯ เพื่อจะได้ติดต่อได้ทันทีเมื่อมีเหตุ
  • จัดทำรายชื่อพนักงานและเบอร์ติดต่อฉุกเฉินให้ครบถ้วนและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
  • จัดเก็บและดูแลรักษาอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับสนับสนุนหรือซ่อมแซมงานระบบ เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำมัน และระบบน้ำ ให้พร้อมใช้งานได้เสมอ
  • แจ้งให้หัวหน้าแผนกป้องกันภัย Safety Manager หรือ ผู้บริหารระดับสูงกรณีพบหรือทราบว่าจะเกิดมีความเสียหายมีภัยเกิดขึ้น เช่น น้ำท่วม หรือ ลมพายุ ฯลฯ

2. สิ่งที่ต้องดำเนินการ หลังเกิดเหตุ Post-loss communication

  • แจ้งให้หัวหน้าแผนกป้องกันภัย Safety Managerทราบทันทีกรณีมีอุบัติเหตุ หรือ ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  • หัวหน้าป้องกันภัย รายงานให้ corporate property risk control manager ทราบทันทีเช่นกัน
  • The corporate property risk control manager แจ้งเหตุให้แผนกบัญชี หรือ ฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กรทราบเช่นกัน

3. สิ่งที่ต้องดำเนินการ หลังจากเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน Post-loss actions — property damage

  • ให้นึกถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก Think safety first —ทำการกั้นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยไว้ก่อน ห้ามบุคคลเข้าไปในสถานที่เด็ดขาด
  • กำหนดพื้นที่ ห้ามบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เกิดเหตุโดยเด็ดขาด
  • กำหนดให้ทีมฉุกเฉินดูแลสถานการณ์ในพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย จนกว่าจะมั่นใจว่า มีความปลอดภัยจึงจะเข้าพื้นที่ได้
  • รักษาสภาพการเกิดเหตุไว้ให้คงสภาพเดิม ห้ามเคลื่อนย้ายหรือทำลายสภาวะทางกายภาพความเสียหายโดยเฉพาะจุดที่อาจเป็นต้นเพลิงหรือต้นตอของอุบัติเหตุ จนกว่าบริษัทประกันภัยหรือบริษัทสำรวจภัยหรือผู้เชี่ยวชาญจะเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้วและอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรให้เคลื่อนย้ายซากที่เสียหายได้เท่านั้น
  • ซ่อมแซมเฉพาะในส่วนที่จำเป็นในเบื้องต้นเพื่อปกป้องทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบ ห้ามทำความสะอาดจนกว่าฝ่ายจัดการความเสี่ยงจะยินยอมให้ดำเนินการดังกล่าว
  • ตรวจสอบการสูญเสียเพื่อกำหนดขอบเขตของความเสียหาย
  • แจ้งผู้รับเหมาเพื่อทำการฟื้นฟูและแก้ไขหากจำเป็น
  • ดำเนินมาตรการฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายต่อเนื่องที่อาจขยายเพิ่มเติม
  • จัดเตรียมขั้นตอนที่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้ความเสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมรายละเอียดผู้ดูแลประสานงานภายในและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะสามารถเข้ามาดำเนินการได้ทันท่วงที
  • ตรวจสอบระบบฉีดน้ำและระบบเตือนภัยว่าสามารถทำงานได้ ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากจำเป็น
  • ปิดไฟ/น้ำ และแก๊สในบริเวณที่เสียหาย อย่ากู้คืนจนกว่าจะปลอดภัย
  • หากพบว่า อาจมีอันตราย เช่น สายไฟร่วง การสัมผัสสายไฟฟ้า แก๊สรั่ว ฯลฯ ต้องโทรศัพท์แจ้งไปยังบริษัท สาธารณูปโภคในพื้นที่เพื่อมาตรวจสอบก่อนเข้าไปในพื้นที่
  • อาคารควรได้รับการประเมินความเสียหายของโครงสร้างหรือการทำลายฐานรากของอาคาร ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือในกระบวนการนี้
  • แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เช่น ตำรวจดับเพลิง, แผนกอนามัย, ผู้ตรวจสอบอาคาร ฯลฯ เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการติดต่อและการสื่อสารไว้เป็นหลักฐาน
  • บันทึกการสื่อสารทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น ใครเป็นผู้แจ้งคำสั่งด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีคนได้ยินคำสั่งทางวิทยุหรือไม่บันทึกทุกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐาน
  • กรอกแบบฟอร์มบันทึกรายงานการเกิดเหตุ (ถ้ามี)
    • ระบุสาเหตุอื่นหรือสาเหตุรองที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสีย สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับการเรียกร้องไปยังบุคคลที่สามที่เป็นผู้กระทำละเมิดหรือเป็นต้นเหตุความเสียหาย
    • ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานก่อนและหลังที่จะดำเนินการทำลายซาก
  • ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อเปิดวาล์วควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจก่อนว่า ท่อและอุปกรณ์ยังคงอยู่ในสภาพเหมาะสมและไม่รั่วไหล หากพบปัญหาเกี่ยวกับท่อหรืออุปกรณ์ ไม่ควรเปิดวาล์วและควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • ควรกำจัดแหล่งจุดติดไฟที่ไม่จำเป็นและใช้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
  • ควรมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดสำหรับการตัด งานเชื่อมหรืองานที่ใช้ความร้อนใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในหรือบริเวณรอบ ๆ อาคาร ให้ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
  • ควรปิดประตู หน้าต่างและช่องรับแสงที่เสียหายทันที วัสดุคลุมควรมีมากพอที่จะต้านทานลม ฝน และความชื้นไม่สามารถซึมผ่านได้
  • อุปกรณ์บริการไฟฟ้าที่เป็นของสาธารณูปโภคที่เสียหายและเกิดมีสายไฟร่วงหล่นลงมา ควรทำการปิดล้อมสายไฟไว้จนกว่าตัวแทนของสาธารณูปโภคจะดำเนินการซ่อมแซมและฟื้นฟูได้เสร็จสิ้น
  • ถ้าหากส่วนประกอบของระบบไฟฟ้าถูกน้ำหรือเกิดความเสียหายจากลมและน้ำท่วม อาจมีผลต่อโครงสร้างอาคารหรือฐานราก ควรปิดระบบไฟฟ้าจนกว่าจะมีการตรวจสอบ และทำความสะอาด การอบแห้ง รวมถึงการทดสอบให้สมบูรณ์ก่อนเปิดใช้อีกครั้ง

4. การดำเนินการ เมื่อเกิดความเสียหายต่อ เครื่องจักรและอุปกรณ์ — Machinery and equipment

  • ทำการซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็นเพื่อปกป้องทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง
  • เก็บรายชื่ออุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบไว้เป็นหลักฐาน
  • ระบุอุปกรณ์สำคัญที่ได้รับผลกระทบต่อการปฏิบัติงานและระยะเวลาในการที่จะต้องเปลี่ยนหรือซ่อม รวมมูลค่าในการเปลี่ยนหรือซ่อม
  • ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการใช้อุปกรณ์ให้เช่า หม้อไอน้ำ คอมเพรสเซอร์ เครื่องทำความเย็น ฯลฯ

5. การดำเนินการ เมื่อเกิดความเสียหายต่อ สินค้าคงคลัง — Inventory

  • ตรวจสอบพื้นที่ที่เก็บสินค้าที่ได้รับความเสียหายและทำการคัดแยกสินค้าที่เสียหายออกจากสินค้าที่ไม่เสียหาย
  • ให้เก็บรักษาสินค้าที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน ห้ามทำลายหรือทิ้งจนกว่าผู้รับประกันภัยจะได้ตรวจสอบและอนุมัติการกำจัด ถ่ายภาพสินค้าคงคลังที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน
  • เตรียมจัดทำเอกสารหรือข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความเสียหายทางกายภาพที่เกิดขึ้น
  • เก็บรักษาเอกสารรายงานด้านความปลอดภัย หรือ เอกสารอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่า สินค้าได้รับความเสียหายจริง
  • ระบุโอกาสในการกู้คืนและตกลงล่วงหน้ากับผู้ตรวจสอบว่า จะจัดการอย่างไรกับสินค้าที่เสียหาย

6. การกระทำ เกี่ยวกับ ซากทรัพย์ — Salvage

  • ห้ามทิ้งซากโดยไม่ได้รับการยินยอมหรือคำแนะนำจากบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษร
  • เก็บซากทั้งหมดไว้ในที่ปลอดภัยเพื่อการตรวจสอบของบริษัทประกันภัยหรือผู้สำรวจภัยที่บริษัทประกันภัยแต่งตั้ง
  • ค้นหาผู้ซื้อในพื้นที่เพื่อเสนอราคาสำหรับการขายซากโดยเร่งด่วนเพื่อรักษามูลค่าของซาก

7. การดำเนินการ กรณีมีผลกระทบต่อธุรกิจ - การหยุดชะงักทางธุรกิจ / ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม — Business interruption/extra expense

  • ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการโอนย้ายการผลิตไปยังสายการผลิตอื่นหรือโรงงานอื่น ๆ
  • ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่จะใช้เวลานานเท่าไหร่ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อธุรกิจ
  • มอบหมายทีมที่รับผิดชอบทำการประเมินผลกระทบต่อธุรกิจและกำไรขั้นต้นในเบื้องต้นจากการเกิดเหตุ
  • ในการประเมินผลกระทบต่อธุรกิจและต่อกำไรขั้นต้นธุรกิจนั้น ให้ทำการปิดบัญชี ณ วันที่เกิดเหตุและให้แยกบันทึกรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทสำรวจภัยตรวจสอบได้ในขั้นตอนเคลม
  • หากสาเหตุความเสียหายเกิดจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ให้บันทึกวันเวลาที่เกิดเหตุและวันเวลาที่ระบบไฟฟ้าสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

8. เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หลังเกิดการสูญเสีย - ธุรกิจหยุดชะงัก / ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม — Business interruption/extra expense

  • ใบแจ้งหนี้ / เอกสารสำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไปและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ (ค่าซ่อมแซม, ชิ้นส่วน, ค่าแรงงาน, การดัดแปลงทรัพย์สินและค่าขนส่งเพิ่มเติม ฯลฯ )
  • รายงานการผลิตแยกตามผลิตภัณฑ์ (รายเดือน รายสัปดาห์ ฯลฯ )
  • รายงานการขาย (บาท) ตามผลิตภัณฑ์หากมี (รายเดือน รายสัปดาห์ ฯลฯ )
  • แผนงานการขายที่ตั้งไว้ รายปี รายเดือน ก่อนเกิดเหตุ
  • งบกำไรขาดทุน
  • รายงานค่าใช้จ่ายเงินเดือน
  • รายงานสินค้าคงคลัง
  • ข้อมูลการผลิต / ข้อมูลการขายที่ทำได้ ณ สถานที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
  • ข้อมูลอื่น ๆ ตามที่ผู้สำรวจภัยหรือบริษัทประกันภัยร้องขอ

สุดท้ายสิ่งสำคัญคือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระเบี้ยประกันเต็มจำนวน ไม่มีเบี้ยประกันภัยค้างชำระ

มิเช่นนั้น บริษัทประกันภัยจะระงับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

Lockton Claims Service Team: Property & Casualty Claim

Sakorn Sudsa-Ard, Director, Mobile (66) 081 170 1912, E-Mail : Sakorn@lockton.com

บริษัทฯ ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีที่สุดให้แก่ท่าน หากท่านประสงค์จะดำเนินการต่อ โปรดกดยอมรับ ซึ่งจะถือว่าท่านยอมรับการใช้งานคุกกี้โดยจะเป็นไปตาม นโยบายข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    เพื่อเป็นข้อมูลสถิติเว็บไซต์นำไปวิเคราะห์จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ และการเข้าถึงหน้าต่างๆภายในเว็บไซต์

บันทึกการตั้งค่า